วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นักเรียนไทย ทนทุกข์สมองบวม


แวดวงการศึกษาในประเทศไทยยุคนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ “นักเรียน” นั้นประเด็นคุณภาพกำลังเป็นที่วิพากษ์กันมาก อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ตัวเด็กนักเรียนตกเป็นเป้าจับจ้องมองว่ามีปัญหา ในอีกด้านหนึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กนักเรียนอันเนื่องมาจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ “ผู้ปกครอง” เป็นสาเหตุ ยังไม่มีการใส่ใจจริงจังนัก...

นักเรียนไทยไม่น้อย...มีปัญหา “เบื่อ-เครียด-ทุกข์”

ตกอยู่ในภาวะที่นักวิชาการเรียกว่า “โรคสมองบวม”

“ดู ๆ แล้วเด็กนักเรียนไทยยังเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ตลอด” ...นี่เป็นส่วนหนึ่งจากการระบุของ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ซึ่งเปรียบเทียบ และเรียกขานคำว่า “โรคสมองบวม” ในเด็กนักเรียนไทย
ทั้งนี้ ติว เรียนพิเศษ กวดวิชา เป็นปรากฏการณ์ปกติของเด็กนักเรียนไทยยุคนี้ไปแล้ว จะเห็นได้จากการเกิดธุรกิจการศึกษาในลักษณะนี้ผุดขึ้นมากมายทุกมุมเมือง ซึ่งก็มีนักวิชาการชี้ว่านี่เป็นเรื่องของ “ค่านิยม”

เป็นค่านิยมที่ทำให้เด็กไทย “ต้องแข่งขันทางการศึกษา” ตั้งแต่เด็กตั้งแต่เล็ก เพื่อที่ผลการเรียนจะได้ดี จะได้เข้าเรียนต่อในสถานศึกษา ดี ๆ มีชื่อเสียง และก็เชื่อว่าจะทำให้มีโอกาสได้ทำงานดี ๆ ในอนาคต

ถามว่า... นี่เป็นค่านิยมใคร ? นี่เป็นความเชื่อของใคร ? คำตอบก็พุ่งเป้าสู่ “ผู้ปกครอง” ซึ่งแม้การคาดหวังต่อบุตรหลานในลักษณะนี้จะมิใช่เรื่องผิด แต่หากเป็นการคาดหวังที่สูงมากเกินไปจนเกิดเป็นการ “กดดันบุตรหลาน” โดยไม่รู้ว่าเด็กยินยอมพร้อมใจอย่างมีความสุขหรือไม่ ? หรือรู้สึกว่าต้องจำใจเรียนเพราะถูกบังคับจากค่านิยมของผู้ปกครอง เด็กก็ต้องแบกความเชื่อมั่นของผู้ปกครองเอาไว้บนบ่าอย่างสุดหนักอึ้ง !!

ทำให้ตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “โรคสมองบวม”

“เบื่อ-เครียด-ทุกข์” เพราะค่านิยมผู้ปกครอง ?!?

กับเรื่องนี้ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ขยายความและแจกแจงผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... ปัจจุบันนี้มีเด็กนักเรียนไทย ยกเว้นอนุบาล และประถมศึกษา เป็นโรคไม่ชอบไปโรงเรียน เป็นโรคเบื่อโรงเรียนจำนวนไม่น้อย เพราะมีทัศนคติต่อการเรียนที่ไม่ดี ขณะที่ปรากฏการณ์การกวดวิชาอาจทำให้คุณค่าการเรียนในห้องเรียนลดลง

“เด็กไปโรงเรียนด้วยความรู้สึกแบบงั้น ๆ

ไปโรงเรียนเพียงเพื่อให้จบไปวัน ๆ เท่านั้นเอง”

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเด็กฯ บอกอีกว่า... “ปรากฏการณ์โรงเรียนเด็กในเมือง มีความรุนแรง มีสภาพสังคมน่าเบื่อมาก น่าเป็นห่วงจริง ๆ ทั้งที่โรงเรียนควรเป็นสถานที่เปิด มีความสนุกสนาน เด็กไปโรงเรียน แล้วได้ไปหาสังคม ไปหาเพื่อน แต่กลับกลายเป็นสถานที่ที่น่าเบื่อหน่าย”

และเมื่อโฟกัสที่การเรียนตามหลักสูตร รศ.ดร.สมพงษ์ ก็บอกว่า... เนื้อหาหลักสูตรของการเรียนทุกวันนี้ โดยรวม ๆ มี 8 กลุ่ม 8 สาระวิชา, 20 วิชาเรียน, 67 มาตรฐาน นักเรียนจะเรียนวันละ 6-7 คาบ ใช้เวลาเรียนคาบละ 35 นาที และเรียนสัปดาห์ละ 35 คาบ แถมยังต้องเรียนกวดวิชาหลังเลิกเรียน หรือเรียนในวันหยุดอีกด้วย

“เรียกว่าเรียนกันเต็มเหยียด เรียกว่าเรียนจนสมองบวม”

นอกจากนี้ เนื้อหาที่สอนก็เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะระดับ “มัธยมศึกษา” มีการเรียน-การเร่งเนื้อหากันจนเกินระดับสมองของเด็ก “เน้นเรียนก่อนรู้ก่อนเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ จนกลายเป็นค่านิยม”

“โรคสมองบวมที่ว่านี้ ทำให้เด็กนักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษา ชั้น ม.1-ม.2 ต้องออกจากระบบไปกลางคันถึงประมาณ 400,000 คนแล้ว” ...รศ.ดร.สมพงษ์ระบุ

พร้อมทั้งบอกต่อไปว่า... เรื่องของการปฏิรูปการศึกษาในประเทศต่าง ๆ นั้น ประเทศมาเลเซีย ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศญี่ปุ่น จัดเป็นประเทศที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีการปฏิรูปการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก ส่วนประเทศไทยที่พูดถึงเรื่องปฏิรูปการศึกษามานานแล้ว แต่ยังติดกลุ่มประเทศที่ปฏิรูปได้แย่อยู่

ทั้งนี้ เด็กนักเรียนไทยเป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด เรื่อง “สมองบวม” นั้นมีผลการทดสอบไอคิวเด็กออกมา โดยบางคนก่อนเรียนไอคิว 110 แต่พอเรียน ๆ ไปแล้วกลับเหลือ 97-100 จนกลายเป็น “ยิ่งเรียนยิ่งโง่”

“การเรียนเพื่อการแข่งขันของเด็กไทยนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับอนุบาลฯ เพื่อที่จะสอบเข้าโรงเรียนดี ๆ ได้ ซึ่งโหดร้ายต่อเด็กมาก เด็กบางคนกวดวิชากันเป็นปี ๆ เด็กจึงสมองบวมเกินวัย เพราะทั้งใส่-ทั้งอัดเนื้อหาวิชากันเกินวัย ทำให้การเรียนไม่สนุกสำหรับเด็ก

โรงเรียนกวดวิชาที่ทะลักออกมาทั่วประเทศ นี่ก็เป็นอีกดัชนี ที่ชี้ว่าการปฏิรูปการศึกษาของเรายังผิดทิศผิดทาง เกิดจากค่านิยมที่ผิดเพี้ยนของพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งปัญหานี้เป็นสิทธิเด็กอย่างหนึ่ง ที่เด็ก ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้เกิดปัญหา” ...ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเด็กฯ ระบุ

อาจไม่ใช่เด็กนักเรียนไทยส่วนใหญ่...ที่ต้องเผชิญปัญหานี้

แต่ต่อให้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น...ก็เป็นเรื่องที่ต้องสนใจ

ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องใส่ใจ

ว่าเป็น “พ่อแม่รังแกลูกด้วยการเรียน” หรือเปล่า ???.

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สำนวนภาษาฝรั่งเศสน่ารู้

nuit blanche( นุย บลองเชอ )ยามค่ำคืนที่เราไม่นอน
mariage blanc ( มารีอาจ บลองซ์ ) การแต่งงานที่คู่แต่งงาน ไม่ได้คิดจะใช้ชีวิตร่วมกันจริงๆ (เพียงเพื่อได้สัญชาติ ...)



année blanche ( อานเน่ บลองเชอ ) ปีการศึกษา (มหาวิทยาลัย) ที่ไม่นับรวมในหลักสูตร



































Love Sick - F.T. Island