วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศัพท์อังกฤษต่อไปนี้ พูดผิดแล้วหน้าแตก !


อย่าอิงกับศัพท์ภาษาไทย
อันนี้เป็นอะไรที่ฮามากกกกกก เพราะบางคนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ประโยคภาษาไทยมาแปลทีละคำ เช่น
ฉันกินข้าว ---- > I eat rice , ฉันไปวัด ----> I go temple (ถึงจะไม่ถูกไวยากรณ์แต่ก็พูดกันเข้าใจ) แต่บางอย่างก็ไม่เข้าใจและกลายเป็นเรื่องโจ๊กไปเลย เช่น มีบางคนคุยเรื่องตลกโปกฮากับฝรั่ง แล้วจะพูดว่า "ขอโทษนะ ฉันพูดเล่น" แต่กลับพูดออกมาเป็นภาษาอังกฤษว่า "Sorry I speak to play" (แปลได้ตรงตัวมาก พูดเล่นจริงๆ ด้วย)
หรือบางคนดันไปมีเรื่องกับฝรั่ง แล้วท้าว่า "อย่าเข้ามานะ ไม่งั้นเอ็งสวย !" พอจะพูดเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ไม่รู้จะพูดยังไง เลยกลายเป็นว่า "Don't come , you will be beautiful !" 55555+ ฝรั่งคงงงว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับความสวยด้วยเนี่ย ฮ่าๆ อย่าขำกันเล่นๆ นะคะ เพราะเรื่องอย่างนี้มีจริงๆ นะเออ
อย่าสะกดหรือออกเสียงผิด
คำภาษาอังกฤษบางคำ ถ้าอ่านออกเสียงหรือสะกดผิดนี่ก็ความหมายคนละโลกเลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น
A : I have an appointment at six o'clock
B : Apartment ? I have a condominium
A : ????
หรือ
A : I want to eat something now , I feel hungry
B : Don't be angry , I will find some food for you
A : ????
จะเห็นได้ว่าคำว่า appointment กับ apartment และ hungry กับ angry นั้นออกเสียงคล้ายๆ กัน ดังนั้นเวลาที่เราจะพูดคำเหล่านี้ก็พยายามออกเสียงให้ชัดด้วยนะคะ อีกฝ่ายจะได้ไม่ฟังผิดนะ
อย่าเข้าใจความหมายผิด
อันนี้จะคล้ายๆ กับข้อแรกที่ว่าอย่าอิงกับศัพท์ภาษาไทย แต่ในกรณี
นี้อาจจะเกิดจากที่ว่า พอเราเห็นศัพท์คำนี้ เราอาจจะคิดว่ามันน่าจะแปล
ว่าอย่างหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วมันแปลว่าอีกอย่างค่ะ เช่น
A : The weather is so hot , are you OK ?
B : No , I'm very hot.
A : ????
จริงๆ การจะตอบไปว่า I'm very hot อาจจะไม่แปลกเท่าไหร่
เพราะคนฟังอาจจะเข้าใจ แต่อาจจะมีขำเล็กๆ ก็ได้ เพราะ I'm very
hot ส่วนมากจะแปลว่า ฉันฮอทมาก (หนุ่มเยอะ) อะไรทำนองนั้น
ดังนั้นประโยคนี้จริงๆ ควรตอบว่า I feel hot มากกว่าค่ะ
มาดูกันอีกตัวอย่าง

A : I have a bad stomachache , I need to go to restroom now.
B : Ok, take some pills and rest in the restroom.
A : ?????
คำว่า restroom นั้น ถึงตัวศัพท์ rest แปลว่าพัก room แปลว่าห้อง ดังนั้นพอเอามารวมกันน่าจะแปลว่าห้องพัก แต่จริงๆ แล้วแปลว่า "ห้องน้ำ" นะคะ ไม่ใช่ห้องพัก

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เปลี่ยนความเครียดให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร


วิธีเอาชนะผลกระทบด้านลบของความเครียดซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่ม เป็นโรคหัวใจ ซึมเศร้าและวิตกกังวล อยู่ที่การรับมือ “ไม่เครียดเลยก็น่าเบื่อ ดังนั้น เครียดบ้างก็ดี” ดร. โรเบิร์ต มอนเดอร์ นักจิตวิทยาแห่งโรงพยาบาลเมาท์ไซไนในแคนาดา กล่าว “แม้ความเครียดที่เข้มข้นเกินไปจะเป็นผลดีได้ยาก แต่มีวิธีเชิงบวกที่จะรับมือกับความเครียดนั้น” นี่คือเจ็ดวิธีที่จะช่วยคุณเพิ่มทักษะขจัดความเครียด
1. เปลี่ยนความกังวลเป็นการแก้ปัญหา
ความกังวลคือกระบวนการของการจินตนาการถึงผลลัพธ์ที่เจ็บปวด ทำไมไม่ลองเปลี่ยนความกังวลมาเป็นารแก้ปัญหาไปทีละขั้นล่ะ ลองชั่งน้ำหนักว่าปัญหาไปควรจะแก้ก่อนหรือหลัง อันไหนสำคัญกว่า ก็แก้ก่อน
2. อย่าไปแคร์สื่อ
บางทีความเครียดก็ไม่ได้เกิดจากตัวเราเสมอไป คนรอบข้างเป็นเหตุสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความเครียด พยายามอย่าเอาตัวเข้าไปครุกอยู่กับปัญหา แต่ให้ก้าวออกมามองปัญหาภาพกว้างบ้่่างอาจเห็นทางออกได้ไม่ยาก
3. ถามตอบตัวเอง
ให้เขียนสิ่งที่กังวลลงในกระดาษ จากนั้นถามตัวเองว่าถ้าสิ่งที่อยากให้เกิดไม่เกิด หรือสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดกลับเกิด ผลลัพธ์เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดกับฉันคืออะไร จากนั้นถามตัวเองว่าเรื่องดีๆที่อาจเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง ถ้าสิ่งที่ฉันอยากให้เกิดไม่เกิด หรือสิ่งที่ฉันไม่อยากให้เกิดกลับเกิด ค้นหาความคิดหรืออารมณ์เชิงบวกที่จะดึงออกมาได้ขณะนึกหาทางออกอื่น
4. เจาะลึก
เรื่องร้ายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป มีข้อดีอะไรบ้างไหมในเรื่องที่ทำให้เครียด แทนที่จะคิดหมกมุ่น ดูสิว่าจะสร้างความแข็งแกร่งขึ้นมาได้อย่างไรการมองหาความหมายและคุณค่าจากประสบการณ์ที่พานพบช่วยทำให้สถานการณ์ที่ตึงเครียดพอทนได้มากขึ้น
5. สร้างตัวกระตุ้นภายใน
งานวิจัยใหม่ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในเรื่องสมองระบุว่า ความเครียดเรื้อรังเป็นมูลเหตุให้สมองถูกทำลายเพราะเซลล์สมองหยุดสร้างเซลล์ใหม่ ข่าวดีนะหรือ สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ช่วยฟื้นฟูส่วนที่ถูกทำลายนั้นได้โดยเร่งสร้างเซลล์ใหม่ ลองหันเหไปทำอย่างอื่นบ้าง เช่นคนที่ออกกำลังทุกวัน แค่ออกกำลังง่ายๆด้วยการเดินก็ได้ มีโอกาสเครียดสูงน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังถึงร้อยละ 41
6. หาแรงบันดาลใจให้ตัวเอง
บางคนพบว่าการอ่านเรื่องราวของคนอื่นช่วยให้รับมือกับความ เครียดได้ดีขึ้น มอนเดอร์แนะให้มองหาแรงบันดาลใจใกล้ๆตัว “การถอยกลับสักก้าวและทบทวนความสำเร็จของตัวเองในอดีตจะช่วยให้รับมือปัญหาได้ดีขึ้น”เขากล่าว “กรรมวิธีนี้ช่วยตอกย้ำให้ตัวเองว่า ‘ฉันเคย รับมือกับเรื่องราวมากมายในอดีตมาแล้ว เรื่องนี้จะจัด การอย่างไรดี’ ”
7. แบ่งเบาภาระออกไป
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแพทย์กราซในออสเตรียศึกษาเมื่อปี 2550 พบว่า การบำบัดพฤติกรรมแบบกลุ่มในระยะสั้นได้ผลลัพธ์ออกมาดี ช่วยลดแรงดันเลือดและความ เครียดโดยรวมของผู้รับการบำบัดที่เครียดเพราะงานหนัก “วางแผนกิจกรรมที่จะทำประจำวัน มีครอบครัวและเพื่อนคอยสนับ สนุนให้ลงมือทำกิจกรรมใหม่เหล่านี้ จะมีส่วนช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดด้วยวิธีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”ซอนเดอร์สกล่าว