วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
ว่ายน้ำ...ลดน้ำหนักได้ไหม?
ว่ายน้ำลดน้ำหนักได้ไหม ? ว่ายน้ำลดความอ้วนได้ไหม ?
การว่ายน้ำกระตุ้นให้หิวและกินมากขึ้นนักวิจัยมหาวิทยาลัยฟลอริดา รายงานว่า ผู้ที่ว่ายน้ำในน้ำเย็นจะทานอาหารหลังจากออกกำลังกายมากกว่าผู้ที่ว่ายน้ำใน น้ำอุ่น เมื่อคำนวณแคลอรีแล้วพบว่า ผู้ที่ว่ายน้ำในน้ำเย็นกินมากกว่าผู้ที่ว่ายน้ำในน้ำอุ่น เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ เรื่องนี้พออธิบายได้ว่า ทำไมผู้ที่พยายามลดน้ำหนักด้วยการว่ายน้ำจึงไม่ค่อยเห็นผล เช่นกับผู้ที่เลือกวิ่งจ๊อกกิ้งหรือขี่จักรยาน
ฉะนั้นเมื่อรู้ถึงข้อ เสียของการว่ายน้ำลดน้ำหนักแล้วก็นำมาปรับปรุงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการ ลดน้ำหนักและลดความอ้วนของคุณด้วยนะค่ะ การว่ายน้ำถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการลดน้ำหนักที่ได้ผลอย่างแท้จริง ต่อไปนี้สำหรับคำถามที่ว่า ว่ายน้ำลดน้ำหนักได้ไหม หรือ ว่ายน้ำลดความอ้วนได้ไหม คงไม่ต้องคาใจคุณผู้หญิงอีกต่อไป
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ฝรั่งแช่บ๊วย ไม่ระวัง...ถึงตาย!
ขอเตือนหนุ่มสาวออฟฟิศที่ชอบผลไม้รถเข็น
เพราะเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสยาม เขาร่วมกันเก็บตัวอย่างผลไม้รถเข็น เพื่อทดสอบการปนเปื้อนในอาหาร ปรากฏว่า ผลไม้แปรรูปมีการปนเปื้อนของสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายถึงร้อยละ 64.2 ส่วนใหญ่เป็นฝรั่งดองบ๊วยที่มีสีเขียว และสีแดงเข้ม และยังมีสารกันราหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในผลไม้ถึงร้อยละ 32.1
โดย พญ. มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ออกมาเตือนว่าการบริโภคผลไม้และอาหารที่มีสีสันสวยงามจากสารเคมี อาจส่งผลให้ท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หูอื้อ มีไข้ หายใจขัด เป็นบ่อเกิดมะเร็งและอาจทำให้เสียชีวิตได้ด้วยซ้ำ
ดังนั้น การเลือกผลไม้ควรพิจารณาจากสีและรูปร่างที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ และดูความสะอาดดี ๆ หากเป็นไปได้เตรียมผลไม้มารับประทานเองจะปลอดภัยที่สุด
4 วิธีฟิตสมองในตอนเช้า
เริ่มต้นเช้าวันใหม่อย่างสดใส ด้วย 4 เคล็ดลับต่อไปนี้ค่ะ
1. หลับตาอาบน้ำ
เปิดก็อกน้ำ ปรับความแรงหรืออุณหภูมิของน้ำโดยใช้ประสาทสัมผัสและความรู้สึก (อย่าลืมฝึกวิธีปรับอุณหภูมิให้แม่นก่อนลงมือ เพื่อป้องกันน้ำร้อนลวกตัว) หลับตาใช้มือสัมผัสหาอุปกรณ์อาบน้ำ จากนั้นจึงล้างหน้า อาบน้ำหรือโกนหนวด
2.เกมสลับมือ
ขยับสมอง ฝึกใช้มือข้างที่คุณไม่ถนัด แปรงฟัน หมุนฝาหลอดยาสีฟันและป้ายยาสีฟันบนแปรง อาจใช้วิธีนี้กับกิจกรรมยามเช้าอื่น ๆ …การฝึกลักษณะนี้เป็นการกระตุ้นสมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน ให้เริ่มสั่งการเพื่อปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่สมองซีกนี้ไม่ค่อยมีส่วนร่วม
มีการวิจัยพบว่า การฝึกเช่นนี้ส่งผลให้วงจร และเครือข่ายสมองในส่วนเยื่อหุ้มสมองคอร์แทกซ์ที่ทำหน้าที่ควบคุม และรับส่งคำสั่งจากมือ มีการขยายตัวอย่างมาก และในอัตราที่รวดเร็ว หรืออาจลองทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือข้างเดียวก็ได้
3. อยู่ในโลกไร้เสียง
ปิดหูด้วยการใส่หูฟังขณะรับประทานอาหารกับครอบครัว เพื่อสัมผัสโลกเงียบ…คนใกล้ตัวคงเคยบ่นว่า คุณฟังสิ่งที่เขาพูดเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่มักเกิดขึ้นตอนยุ่งอยู่ ลองฝึกตัวเองด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณบังคับตัวเองให้ใช้ตัวช่วยอื่นในการทำกิจกรรม เช่น รู้ว่าขนมปังปิ้งที่อยู่ในเครื่องปิ้งได้ที่แล้ว โดยไม่ต้องพึ่งเสียง
4. เช้าวันธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
ลองเลือกกิจกรรมต่อไปนี้หนึ่งหรือสองข้อ แต่ไม่ควรทำหมดทุกข้อในเช้าวันเดียวกัน
สลับลำดับกิจวัตรตอนเช้า เช่น ถ้าคุณเคยแต่งตัวก่อนกินข้าว ลองเปลี่ยนมากินข้าวก่อนแต่งตัว
ถ้าคุณเคยรับประทานกาแฟกับขนมปังทุกเช้า ลองเป็นข้าวโอ๊ตและชาสุขภาพ หรืออาหารอื่นบ้าง
เปลี่ยนเสียงนาฬิกาปลุก เปลี่ยนรายการวิทยุ หรือทีวีไปเป็นรายการที่คุณไม่เคยฟัง รายการเด็กเป็นตัวอย่างที่ดี ในการกระตุ้นสมองให้สนใจในเรื่องที่คุณเคยมองข้าม
เปลี่ยนเส้นทางที่จะเดินทางไปทำงาน
จากการศึกษาภาพถ่ายของสมอง กิจกรรมใหม่ ๆ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทที่กินพื้นที่สมองชั้นนอกในบริเวณกว้าง วิธีเติมกิจกรรมใหม่นี้จะให้ผลลดลง เมื่อกิจกรรมนั้นกลายเป็นสิ่งที่ทำเป็นกิจวัตร หรือเป็นอัตโนมัติ เนื่องจากสมองต้องใช้พลังในการทำสิ่งใหม่ ๆ มากกว่าต่อนทำกิจกรรมที่ทำจนชินแล้ว
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
คนกินหวาน ระวังสมองเฉื่อย ความต้านทานต่ำ
คงเป็นข่าวร้ายพอสมควร สำหรับบรรดา "ชมรมคนรักความหวาน" ที่ชื่นชอบ "น้ำตาล" เป็นชีวิตจิตใจ เพราะผลวิจัยทางการแพทย์สรุปออกมาแล้วว่า มีภัยอันตรายที่แฝงเร้นอยู่ภายใต้ความหวานนั้นมากมายทีเดียว
แต่ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือ เมื่อได้ตรวจสอบข้อมูลไปยังกระทรวงสาธารณสุขที่เฝ้าติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลของคนไทยทำให้พบว่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มเฉลี่ยจากคนละ 12 กิโลกรัมต่อปีในปี พ.ศ.2526 กลายเป็นคนละ 29 กิโลกรัมต่อปีในปี พ.ศ.2545 เรียกว่า เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 2 เท่าตัว
ซ้ำร้ายดัชนีที่เกิดขึ้นยังเป็นแนวโน้มเดียวกันกับการบริโภคน้ำตาลในรูปแบบขนม ลูกอมและเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ซึ่งปรากฏชัดเจนกับเด็กรุ่นใหม่ที่กระแสบริโภคถูกกระตุ้นโดยการโฆษณา
"จากข้อมูลทางโภชนาการและสุขภาพ เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินควร นอกจากนำมาซึ่งปัญหาโรคอ้วนและโรคฟันผุแล้วการรับประทานน้ำตาลมากๆ มีอันตรายต่อสุขภาพหลายประการโดยน้ำตาลซูโครสหรือฟรุกโตส จะทำให้ระดับไขมัน กลูโคส อินซูลินและกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและโรคเบาหวาน
"ผู้ที่ชอบกินหวานจัดบ่อยๆ จะทำให้ระบบความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเสียไป ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายลดต่ำลง ผลที่ตามมาก็คือทำให้ติดเชื้อง่าย นอกจากนี้ การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อยๆ ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ เมื่อบริโภคเป็นเวลานานจะก่อให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อีกทั้งการรับประทานน้ำตาลซูโครสมาก ทำให้กรดอะมิโนที่มีชื่อว่า ทริปโตฟาน ถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนในสมอง ผลที่ตามมาก็คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง ซึ่งหากเป็นในเด็กจะทำให้เรียนไม่รู้เรื่องและหากเป็นวัยทำงานก็จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ" นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลถึงอันตรายจากการบริโภคน้ำตาล เมื่อติดตามพิษร้ายที่เกิดจากความหวานต่อไป ก็ทำให้ได้ข้อมูลอีกด้วยว่า การรับประทานอาหารรสหวานมากไป จะทำให้เด็กอิ่มและตัดโอกาสที่เด็กจะได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย
ผลการศึกษาในปี พ.ศ.2546 พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 6-15 ปี ได้รับอาหารที่ให้พลังงานมากถึง 23 % สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 10 % กว่าเท่าตัว ตรงนี้บ่งชี้ว่า สถานการณ์การกินหวานในเด็กไทย อยู่ในขั้นที่ควรร่วมกันแก้ไขโดยด่วน
"ในความเป็นจริงนั้น การติดหวานสามารถถูกสร้างขึ้นตั้งแต่วัยเริ่มต้นของชีวิต โดยพ่อแม่และผู้ใหญ่เป็นกลุ่มแรกที่สร้างภาวะให้เด็กติดหวาน เนื่องจากบริโภคนิสัยของเด็กจะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก เริ่มจากนมและอาหารเสริมที่ป้อนให้ เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะติดอาหารหวานและจะเพิ่มปริมาณความหวานมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนที่เคยชินรสหวาน เมื่อได้รสหวานสมองจะหลั่งสารชนิดหนึ่งเรียกว่าโอปิออยด์( Opioid) ออกมาทำให้เกิดความพอใจ และอยากกินหวาน ทำให้อ้วนได้เร็ว
"ดังนั้น นี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในเรื่องนี้อย่างจริงจังโดยเริ่มจากส่งเสริมให้เด็กกินนมแม่แทนนมขวด พร้อมทั้งจะมีการประกวดโรงพยาบาลปลอดนมขวดทั่วประเทศ ส่งเสริมให้เด็กกินนมรสจืด แทนนมรสหวานหรือนมปรุงรส ส่งเสริมให้เด็กกินผลไม้ที่รสไม่หวานแทนการกินขนมหวาน และรณรงค์ให้งดการเติมน้ำตาลในก๋วยเตี๋ยว อีกทั้งให้งดการดื่มน้ำอัดลมและอมท๊อฟฟี่ด้วย" ปลัดกระทรวงสาธารณสุขสรุปแผนการรณรงค์เพื่อให้เด็กไทยรอดพ้นจากการบริโภคความหวานมากเกินไปทิ้งท้าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)