วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

รู้ไว้ใช่ว่า : วิธีป้องกันตัวเอง เมื่อเจอความรุนแรง


มีคนเคยกล่าวไว้ว่า "ที่ที่อันตรายที่สุด คือที่ที่ปลอดภัยที่สุด" แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้คนเราต้องระแวดระวังตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยทั้งร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน วันนี้จึงนำข้อควรปฏิบัติเมื่อผู้หญิงต้องอยู่ในที่สาธารณะโดยลำพัง ไม่ว่าจะในลิฟต์ ห้องน้ำสาธารณะ หรือแม้กระทั่งบ้านของตัวเอง มาฝากกันค่ะ
กรณีอยู่ในสถานการณ์คับขัน
หากคนร้ายประชิดตัว และอยู่กันตามลำพัง พยายามรวบรวมสติอย่าตกใจจนเกินไป หาวิธีการช่วยเหลือตนเองเฉพาะหน้า โดยการใช้น้ำเย็นเข้าลูบ หรือพูดจาถ่วงเวลาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหาทางหลบหนีออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ
พยายามไม่ยั่วยุคนร้าย เพราะอาจทำให้คนร้ายใช้ความรุนแรงมีหลายจุดที่อาจจู่โจมคน ร้ายได้ เช่น ดวงตา อวัยวะเพศ แต่ต้องให้แน่ใจว่าสามารถทำให้คนร้ายเจ็บจริงจนหยุดการกระทำ หรือเสียการทรงตัวชั่วขณะ เพื่อให้สามารถหลบหนีออกมาจากสถานการณ์ตรงนั้นได้ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้สถานการณ์แย่กว่าเดิม
กรณีอยู่ท่ามกลางฝูงชนหรือบริเวณที่มีผู้คน เช่น ถูกอนาจารบนรถเมล์ ไม่ควรอาย ให้ร้องขอความช่วยเหลือดัง ๆ หากพบว่ามีคนเดินตามในที่เปลี่ยว ควรตะโกนว่า "ไฟไหม้" อย่าตะโกนว่า "ช่วยด้วย" แล้ววิ่งหนีให้เร็วที่สุด ควรแจ้งความหรือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงบันทึกประจำวันเพื่อนำตัวคนทำผิดมาลง โทษ หรืออย่างน้อยเพื่อเป็นการตักเตือนผู้กระทำผิด ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือต้องตั้งสติให้มั่นเพื่อที่จะเลือกวิธีเอาตัวรอดได้อย่าง เหมาะสม
กรณีความรุนแรงในครอบครัว
ไม่ทำให้เหตุการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น ยุติการโต้เถียงในขณะที่ต่างฝ่ายต่างมีอารมณ์โกรธ แล้วพยายามหันหน้ามาปรึกษาพูดคุยกันเมื่อต่างฝ่ายอยู่ในสภาพที่พร้อม กรณีที่ไม่สามารถพูดคุยกันได้โดยตรง อาจให้ผู้ใหญ่ที่นับถือ หรือญาติพี่น้องมาเป็นตัวกลางในการพูดคุย
กรณีที่ถูกทำร้ายหรือไม่มั่นใจในความปลอดภัยให้พยายามเลี่ยงจากสถานการณ์ หรือ สถานที่นั้น โดยอาจติดต่อขอความช่วยเหลือจากตำรวจ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน หรือบุคคลที่ไว้ใจ หรือย้ายที่อยู่ชั่วคราวจนกว่าปัญหาจะคลี่คลาย
โทรศัพท์ขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง เพื่อน หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ หากยังไม่ได้ผล ควรตัดสินใจใช้สิทธิตามกฎหมาย แจ้งความต่อตำรวจ เพราะไม่มีใครมีสิทธิทำร้ายผู้อื่นแม้จะเป็นสามี
ตั้งสติพยายามทบทวนเรื่องราว หาเหตุผลและวิธีการแก้ไขปัญหา รวมถึงพิจารณาว่าหากจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไปควรมีข้อตกลงกันอย่างไรเพื่อ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก
ไม่ระบายอารมณ์กับเด็ก โดยดุด่า ทุบตี หรือทำร้ายเพื่อประชดอีกฝ่ายหนึ่ง
กรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ควรรีบให้แพทย์ตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ควรอาบน้ำหรือชำระล้างร่างกายหรือเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานได้ชัดเจนและครบถ้วน เพราะการตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนไม่ว่าจะตัดสินใจดำเนินคดีหรือไม่ จะเป็นผลดีในแง่การป้องกันการติดโรคจากเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถทำได้ดีภายใน 48 ชั่วโมง และเมื่อตัดสินใจที่จะแจ้งความร้องทุกข์เมื่อใด พยานหลักฐานทางการแพทย์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ว่าถูกละเมิดทางเพศจริง เพราะการดำเนินคดีการละเมิดทางเพศในประเทศไทยให้ความสำคัญกับผลการตรวจร่าง กายของแพทย์เป็นสำคัญ
หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวตามลำพัง เพราะอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่เป็นผลร้ายกับตนเอง เช่น ทำร้ายตนเอง พยายามฆ่าตัวตาย ให้กำลังใจตนเอง ไม่ควรลงโทษตนเอง เพราะไม่มีผู้ใดต้องการถูกข่มขืน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่ความผิดของตนเอง แต่เป็นความผิดของชายที่มากระทำต่างหาก ให้รำลึกอยู่เสมอว่า คุณค่า อนาคต ความสามารถของเรามิได้สูญเสียไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ควรตัดสินใจคลี่คลายปัญหาโดยอาจหาบุคคลที่ไว้ใจได้ เช่น พ่อแม่ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาหรือแจ้งความนำผู้กระทำผิด มาลงโทษ เพื่อไม่ให้เขามีโอกาสมากระทำซ้ำ หรือไปกระทำกับคนอื่นอีก
ข้อควรจำทางกฎหมาย
เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสสำคัญในการที่จะพิทักษ์สิทธิตามกฎหมายของตนเอง ผู้ถูกข่มขืนที่มีอายุเกิน 15 ปี ระยะเวลาที่สามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเพียง 3 เดือน นับจากวันเกิดเหตุเท่านั้น สำหรับผู้ถูกข่มขืนที่อายุไม่ถึง 15 ปี เป็นกรณีที่ยอมความไม่ได้ มีระยะเวลาแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่เกิดเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น